แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem Based Learning)(PBL)
หน่วย : “ผักชวนชิม ” ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ 2 (Quarter 3) ปีการศึกษา 2558
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
Week
|
lnput
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
|
โจทย์:
ปลูกผัก
- สร้างแรงบัลดาลใจ
- สร้างฉันทะในการเรียนรู้
- ทบทวนวิถี
Key Questions
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้“ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น”
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบเห็นจากการเดินสำรวจและฟังนิทาน
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
Card & Chart : เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Blackboard Share :
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทาน
- แปลงผัก
|
วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนวิถีให้กับนักเรียน
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจพืชผักและชิมผักแต่ละชนิดที่พบ สังเกตสิ่งมีชีวิตและสิ่งต่างๆรอบบริเวณภายในโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไร และได้เรียนรู้อะไรจากการเดินสำรวจ?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจโรงเรียน
ใช้:
วาดภาพสิ่งที่ประทับจากการเดินสำรวจภายในโรงเรียน
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูมีนิทานเรื่องเม็ดแครอต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด " นักเรียนได้ยินอะไรบ้างและรู้สึกอย่างไร? " “ถ้าเราไม่มีเมล็ดแครอตเราจะปลูกอะไรแทนได้บ้าง” “ถ้าเราไม่ปลูกผักในดินนักเรียนคิดว่าเราจะปลูกใส่อะไรได้บ้าง”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการปลูกผัก
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันปลูกผักเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
วันพุธ(1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ ”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ?” “เมื่อได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร”
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผักที่นักเรียนชอบ
ใช้:
นักเรียนวาดภาพผักที่ชอบ
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
-ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นเอ๋ยต้นไม้” เพื่อเชื่อมโยงถึงระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืช
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
“ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น”
“ สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆอย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้และช่วยกันจัดหมวดหมู่สิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการBlackboard Share
และเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ใช้ : นักเรียนวาดสิ่งที่อยากเรียนรู้
วันศุกร์(1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนำเสนอชิ้นงาน
ใช้:
- Show and Share
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ให้เพื่อนฟังเป็นรายบุคคล
|
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับการเดินสำรวจรอบๆรงเรียน ทบทวนวิถี
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน
- ปลูกผัก
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ทำความสะอาดห้องเรียน
- Show and Share
ชิ้นงาน
- วาดภาพผักผลไม้ที่ชอบ
- วาดภาพสิ่งที่พบเห็นจากการเดินสำรวจรอบๆบริเวณโรงเรียน
- วาดสิ่งที่อยากเรียนรู้
|
ความรู้ :
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และสามารถเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งที่พบ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
บันทึกหลังสอน
สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนของน้องๆอนุบาล
1 ใน Q.3 เป็นสัปดาห์ในการทบทวนวิถี
คุณครูสังเกตเห็นน้องหลายๆคนรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ได้มาโรงเรียนวันจันทร์ในตอนเช้าตั้งแต่มาที่ตึกอนุบาลได้เห็นน้องอนุบาล
1
สนใจและมาดูตรงมุมผักชนิดต่างๆที่ครูจัดไว้เพื่อสร้างแรง ทั้งหยิบจับ
บอกชื่อของผักที่ตัวเองรู้จัก และลองชิมแบบเล่นๆกันของเด็ก ตอนเข้าแถวเคารพธงชาติน้องอนุบาล 1 จะนิ่งและตั้งใจทำกิจกรรมอย่างตั้งใจจากนั้นครูและน้อง
ได้เดินปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไปดูแปลงผักของพี่มัธยม แปลงข้าวที่นา
นักเรียนดูตื่นเต้นนอกจากนี้น้องยังได้ชิมผักต่างๆที่พอ เช่นผักบุ้ง ตำลึง อัญชัญ
PBL วันนี้เป็นการทบทวนวิถีจากการเดินสำรวจ
เด็กๆได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเดินสำรวจ
ตั้งแต่เช้ามาถึงโรงเรียนได้เจออกับอะไรบ้างน้องต่างช่วยตอบเช่น เจอผักผลไม้
เจอพี่วัว ได้ลองชิมผัก ครูจึงได้นำตัวอย่างผักมาให้น้องได้ดู เมื่อน้องได้เห็นมีน้อง
ไดมอนด์บอกว่าอยากชิมผัก
ครูจึงให้ลองชิมถั่วพูถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีเมื่อน้องไดมอนด์ได้ชิมก็จะมีน้องอีกหลายคนที่อยากลองชิมเช่นกันโดยเฉพาะน้องฮิวที่มาขอชิม
2 รอบ
จากนั้นเด็กๆได้ทำงานวันแรกที่หนูมาเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในโรงเรียน
เมื่อทำงานเสร็จแล้วได้สังเกตเห็นน้องที่ทำงานเสร็จแล้วไปยืนดูมุมผักที่หน้าห้อง เด็กๆได้หยิบพักมาชิมซึ่งน้องฮิวได้เป็นคนที่หยิบมาชิมก่อนแล้วเพื่อนๆก็ชิมตาม วันนี้น้องชิมผักไปหลายชนิดเช่น ถั่วพู
สลัด ถัวแระ สาลี
กวางตุ้ง มะเขือเทศ
........................................................................................................................................................................
Week 1 / Q 3 / 2558 /วันที่ 26-30 ตุลาคม 2558
วันจันทร์ที่ 26เป็นวันแรกของการเปฺิดเรียนใน Q.3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ทั้งนักเรียนและครูต่างก็ตื่นเต้นไม่ต่างกันเลย เสียงทักทายและถามไถ่ว่าใครไปไหนบ้างในช่วงปิดเทอม นักเรียนต่างเล่าเรื่องราวประสบการณ์ให้กันฟัง บรรยากาศที่แสนอบอุ่นทำให้นักเรียนและครูรู้สึกได้ถึงความผูกพันธ์กันและกัน นักเรียนเข้าแถวหน้าอาคารอนุบาลรอครูตั้งแต่ 07.40 น. ครูถามว่า "ทำไมเข้าแถวเร็วจัง ยังไม่ถึงเวลาเลยคะ" นักเรียนตอบว่า "อยากเข้าแถวเร็ว ๆ ค่ะ" หลังจากเข้าแถวทำกิจกรรมหน้าเสาธงแล้วนักเรียนและครูเดินปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบๆโรงเรียน ครูสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับผักที่มีประโยชน์ภายในโรงเรียน นักเรียนชิมรสชาติผักกูด ยอดมะตูมมาเล ผักตำลึง ผักปัง และดมกลิ่นดอกแค เด็กบางคนไม่ชอบรับประทานผักเลยแต่เมื่อเห็นเพื่อนๆทดลองชิมผัก ก็อยากชิมผักบ้าง น้องกายบอกกับครูว่า"ผักกูดไม่เห็นขมเลย อร่อยดีครับครู"





กิจกรรมสุนทรียะ
นิทานปรับพฤติกรรม เล่าไปพับไปจากครูฝนสนุกมากเด็กตั้งใจฟัง เด็กสามารถเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดและเรียนรู้รูปร่างของกระดาษที่พับในแต่ละขั้นตอนได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียว เด็กยกมือตอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ครูเล่า
เช้าวันพุธ เด็กและครูเล่นเกมนายพรานยิงนกและส่ง-รับลูกบอลรอบวง เด็กสนุกสนานสามารถรับ-ส่งลูกบอลได้อย่างคล่องแคล่ง มีเพียงน้องอนุบาล1 สองคนคือน้องอิมกับน้องข้าวหอม น้องบอกว่ากลัวลูกบอลถูกหน้าจึงไม่กล้ามองลูกบอลเวลาลอยมาหาตัว ครูเลยให้ทดลองรับโดยครูโยนเบาๆให้น้องรับได้ทำให้น้องอิมกล้ารับลูกบอลมากขึ้น
เช้าวันพุธ เด็กและครูเล่นเกมนายพรานยิงนกและส่ง-รับลูกบอลรอบวง เด็กสนุกสนานสามารถรับ-ส่งลูกบอลได้อย่างคล่องแคล่ง มีเพียงน้องอนุบาล1 สองคนคือน้องอิมกับน้องข้าวหอม น้องบอกว่ากลัวลูกบอลถูกหน้าจึงไม่กล้ามองลูกบอลเวลาลอยมาหาตัว ครูเลยให้ทดลองรับโดยครูโยนเบาๆให้น้องรับได้ทำให้น้องอิมกล้ารับลูกบอลมากขึ้น



กิจกรรมจิตศึกษา
วันจันทร์ ครูนำใบตองมาให้เด็กฉีกเป็นเส้นเล็กๆ โดยไม่ให้ใบตองขาดออกจากกัน และเชื่อมโยงประโยชน์ของใบกล้วย เด็กสามารถบอกประโยชน์ของใบกล้วยได้และใช้กล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กันกับตาได้ดีมีความตั้งใจในการฉีก มีเพียงน้องกายกับน้องพลอยที่ฉีกขาดออกจากกันเป็น 2 ชิ้น

วันอังคาร
ครูนำลูกปัดมาให้เด็กร้อยโดยเชื่อมโยงจากเรื่องเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูก
ครูนำลูกปัดมาให้เด็กร้อยโดยเชื่อมโยงจากเรื่องเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูก
กิจกรรมPBL โครงงาน "ผักชวนชิม"
ครูสร้างแรงบัลดาลใจด้วยการพาเด็กเดินดูผักรอบบริเวณโรงเรียนและจัดสิ่งแวดล้อมด้วยผักที่เด็ก ๆ รู้จัก และชิมผักที่ครูนำมาวางไว้หน้าห้องเรียน เด็กชิมผักอย่างเอร็ดอร่อยและบอกรสชาติผักที่ได้ชิม จากนั้นครูให้เด็กวาดภาพผักที่ตนเองชอบรับประทาน และทดลองปลูกผักบุ้งโดยไม่ใช้ดิน โดยนำเมล็ดผักบุ้งใสตะกร้าแช่น้ำแล้วให้เด็กสังเกตเมล็ดผักบุ้งทุกวัน เด็กสังเกตเห็นรากผักบุ้ง ครุนำหอมหัวใหญ่ใส่แก้วน้ำให้เด็กสังเกตการงอกของรากหอม









งงงิิิิิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น