week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น อธิบายเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของผัก พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจได้



Week
Input
Process
Output
Outcome
5
23 -27 พ.ย.  2558 
โจทย์ :
การดูแลรักษา/การเจริญเติบโต
 Key  Questions
-นักเรียนจะมีวิธีการดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของผักได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของผัก
Think Pair Share: ประโยชน์และโทษของผัก
Blackboard  Share : การประกอบอาหารเมนู
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทาน  เพลง
แปลงผัก













วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ผักเสี้ยนวิเศษ” เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงถึงการดูแลรักษาและการเจริญเติบโต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไรและสังเกตเห็นอะไร?” “นักเรียนจะมีวิธีการดูแลรักษาผักของเราอย่างไร?”


เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษาผัก
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีดูแลรักษาตัวเองได้อย่างไร?”


เชื่อม  :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษาตัวเอง
ใช้:
นักเรียนแตก web การดูแลรักษาผัก



วันอังคาร (1ชั่วโมง)

ชง:
- ครูเล่านิทาน “อาบน้ำสนุกจัง ” เพื่อเชื่อมโยงเกี่ยวกับการดูแลรักษาร่างกาย  และสิ่งมีชีวิตอื่น
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร” “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้ฟังจากนิทานมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร”

เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง

ชง :
 ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการดูแลผัก และสิ่งมีชีวิตอื่นจะเหมือนกับคนหรือไม่ อย่างไร?”
ใช้ :
นักเรียนแตก web การดูแลรักษาร่างกาย


วันพุธ ( ชั่วโมง)

ชง:
ครูเล่านิทานเรื่อง “อาหารที่เรากินไปไหน”
เพื่อเชื่อมโยงถึงการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร” “ถ้าร่างกายเราไม่ไม่ได้รับอาหารเลยนักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น?”

เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน

ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าผัก  หรือสิ่งมีชีวิตอื่นจะมีการเจริญเติบโตแบบใด?  เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”

ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันการเจริญเติบโตของผัก


วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)

ชง:
- ครูเล่านิทานเรื่อง “มดน้อยแสนขยัน” เพื่อเชื่อมโยงถึงการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรจากที่ได้ฟัง” “ร่างกายของเราเจริญเติบโตได้อย่างไร”

เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของ  คน  พืช  สัตว์

ใช้ :
นักเรียนต่อเติมภาพ



วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)

ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร

เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนำเสนอชิ้นงาน

ใช้:
Show and Share
นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่
อยากเรียนรู้ให้เพื่อนฟังเป็นรายบุคคล

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การเจริญเติบโตของผัก
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษาผัก และการดูแลรักษาร่างกายตัวเอง
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรคของพืช
- Show and Share

ชิ้นงาน
แตก web การดูแลรักษาผัก
- ทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติ
- ปั้นดินน้ำมันการการเจริญเติบโตของผัก
นักเรียนต่อเติมภาพ


ความรู้ :
นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น อธิบายเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของผักได้  พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต 
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สามารถสังเกตสิ่งมีชีวิต  การเปลี่ยนแปลง การดูแลรักษาตลอดจนสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน





ภาพกิจกรรม


ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในยามเช้าของทุกวัน  

           นักเรียนและครูจะเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวภายในโรงเรียน  นักเรียนและครูแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงประสบการณ์ โดยการใช้คำถาม  -  ตอบ กันและกัน

เช้าวันพุธ  พี่อนุบาล 2 และน้องอนุบาล 1 เล่นเกมนายพรานยิงนกร่วมกัน  พี่ดูแลน้อง  น้องเชื่อฟังพี่ สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและกัน   

 08.30 -09.00  น.  กิจกรรมสุนทรียะ  

วันจันทร์ครูพอมาดีดกีต้าร้องเพลงร่วมกับน้องอนุบาล และครูนเล่านิทานปรับพฤติกรรม

ในวันอังคารพี่มัธยมมาแสดงละครปรับพฤติกรรมเรื่องคนเลี้ยงแกะให้น้องชม





วันพฤหัสบดี นักเรียนและครูเต้นเพลงปฐมวัย  และ เพลงสมัยนิยม
    09.00- 09.30 น.  กิจกรรมจิตศึกษา



Body scan
Brain   gym
กิจกรรมต่อใบสน *** เป้าหมาย  เพื่อให้เกิดสมาธิ / จิตจอจ่อ/เห็นคุณค่าธรรมชาติรอบตัว และฝึกใช้กล้ามเนื้อมือและตาประสานสัมพันธ์กัน

 
 
 
กิจกรรมแปลงร่างลวดตัวหนอนเป็นตัวอักษร
*** เป้าหมาย  เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ตัวอักษรและเชื่อมโยงสีต่างๆของลวดตัวหนอน

 
 
กิจกรรม โยคะ
***เป้าหมาย   ฝึกเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ จอจ่อ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก


 
 
กิจกรรมเสียงอะไรเอ่ย
*** เป้าหมาย   ฝึกใช้ประสาทสัมผัสทางหู   การฟังเสียงและคาดเดาเสียงที่ได้ยิน /จินตนาการ 

กิจกรรมเรื่องเล่าจากครู
***เป้าหมาย   ฝึกให้นักเรียนรู้ทักษะการฟัง และเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริงในชีวิตประจำวันของแต่ละคนแล้วถ่ายทอดให้เพื่อนฟังได้


 


09.30 -  10.00 กิจกรรม PBL. (โครงงาน ผักปลอดภัย)
ครูเล่านิทานเกี่ยวกับผัก

 
นักเรียนปั้นผักที่ตนเองชอ



กิจกรรมผู้ปกครองอาสา มาสอนน้องอนุบาล 1 ทำราดหน้าผักรวมอร่อยๆคะ
นักเรียนและครูช่วยกันปลูกเมล็กผักชีรอบแปลงผักกุยฉ่าย





บันทึกหลังสอนสัปดาห์ที่ 5


                ในสัปดาห์นี้น้องอนุบาล 1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาผัก และสิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยในวันจันทร์นักเรียนได้ฟังนิทานเรื่องผักเสี้ยนวิเศษจากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการดูแลผักของเราอย่างไร”  น้องวันใหม่ : รดน้ำค่ะ  น้องกร : ใส่ปุ๋ยครับ  น้องแสตม์ : ถอนหญ้าออกครับ  น้องหนูยิ้ม : เอาหนอนทิ้งค่ะ นักเรียนทำใบงานแตก web การดูแลรักษาผัก วันอังคาร ครูเล่านิทานมะเขือเทศยักษ์ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้รู้อะไรบ้างจากนิทาน” “นิทานที่ได้ฟังเป็นอย่างไร” น้องพลอยใส : เขาพรวนดินให้มะเขือเทศค่ะ  น้องไดมอนด์ : รดน้ำมะเขือเทศครับ  น้องอิม : ร้องเพลงให้ฟังค่ะ  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมผักที่เราปลูกไว้ถึงตาย” “นักเรียนจะมีวิธีดูแลพี่ผักของเราอย่างไร” น้องจินจู : ผักเราเหี่ยวเพราะรดน้ำมากเกินไปค่ะ น้องหนูยิ้ม : รดน้ำให้พี่ผักค่ะ  น้องไดมอนด์ : เราต้องเอาผ้าคุมพี่ผักครับ  นักเรียนยังได้เชื่อมโยงมาสู่ตัวเองเกี่ยวกับการดูแลรักษาร่างกายของตัวเอง วันพุธ ครูและนักเรียนได้พูดคุยเกี่ยวกับวันลอยกระทงพร้อมทั้งร่วมกันทำกระทงนักเรียนได้ตกแต่งกระทงของตัวเองอย่างตั้งใจและอยากจะนำไปลอย วันนี้ยังมีกิจกรรมการห่อข้าวประจำเดือนที่จะเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้การแบ่งปันกัน วันพฤหัสบดีมีกลุ่มผู้ปกครองอาสาทำกิจกรรมอาหารแห่งรัก ในสัปดาห์นี้จะเป็นเมนู ราดหน้า  ข้าวเกรียบทอด  ฝรั่ง ซึ่งจะเป็นการแบ่งปันให้น้องอนุบาล  1 และพี่อนุบาล 2 นักเรียนจะได้ออกไปเรียนรู้การทำอาหารกับผู้ปกครอง 1 กลุ่มส่วนนักเรียนที่อยู่ในห้องทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมันสวนผักและการดูแลรักษา  วันศุกร์ เป็นการเล่าเรื่องราวของนักเรียนในแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้  นักเรียนในแต่ละกลุ่มสามารถเล่าถึงสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์ได้ดีมากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น